ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกันยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรมหรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
โดยสามารถ แบ่งเป็นรุ่นของภาษา (Generation) ได้ดังต่อไปนี้
ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ภาษาระดับสูง (High-level Language)
ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Language)
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
หรือ ภาษารุ่นที่ 1 เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องได้โดยตรง เครื่อง คอมพิวเตอร์ทุกชนิด ทุกขนาด จะทางานใด ๆ ได้ด้วยภาษาเครื่องนี้ ลักษณะสำคัญของภาษาเครื่องคือ เขียนอยู่ ในรหัสของเลขฐานสอง ซึ่งความจริงคือลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการเขียนโปรแกรมจึงได้ แปลงลักษณะสัญญาณไฟฟ้าให้ตรงกับรหัสของเลขฐานสอง มีสัญลักษณ์ 2 ตัวคือ 0 กับ 1
- Op Code (Operation Code) คือ รหัสคำสั่งที่บอกให้เครื่องทำงาน เช่น ให้หยุดทางานหรือทำการ บวก ลบ คูณ หาร- Operand คือ ส่วนที่เก็บตำแหน่งของข้อมูล เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าจะนำข้อมูลส่วนใดมา ทำงาน และนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ไหน
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษารุ่นที่ 3 เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกและคล่องตัวขึ้นในการ ใช้งาน ภาษาระดับสูงนี้เป็นภาษาที่มีรูปแบบและความหมายใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ที่ใช้น้อยในปัจจุบัน นัก โปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมเป็นคำสั่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับงาน เพราะคำสังที่ใช้ถูกจำกัดใหม่ความหมายแน่นอนลงไป สะดวกแก่การเข้าใจนอกจากนี้โปรแกรมอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภาย ในเครื่องมากเพราะการเขียนโปรแกรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานภายในเครื่อง
ย่อมาจาก Formula Translator เป็นภาษาชั้นสูงภาษาแรกที่มีการใช้แพร่หลาย พัฒนาขึ้นในกลางปี ค.ศ. 1950 โดย JIM BACKUS ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมของ IBM เหมาะสมกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะของภาษาคล้ายคลึงกับสูตร หรือสมการทางคณิตศาสตร์และภาษานี้ยังได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็น FORTRAN 77 ซึ่งประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ไม่เหมาะสมกับงาน ทางการพิมพ์ หรืองานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ (File)
ย่อมาจาก Common Business-Oriented Language เดิมภาษานี้เรียกว่า CODASYL (Conference Data System Language) ได้มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาที่นิยมใช้สำหรับงานทางด้านธุรกิจ สามารถใช้งานได้ทั้งบนเครื่องพีซี มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรม นอก จากนี้ภาษาโคบอลยังเหมาะกับงานด้านการจัดการไฟล์ของข้อมูล งานที่มีข้อมูลมากๆ เพราะมีคำสั่งต่างๆที่ใช้กับไฟล์มาก และสามารถใช้กับงานที่ต้องการออกรายงาน (Report) ที่ต้องการความสวยงามได้ คำสั่งต่างๆ ในภาษา COBOL มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ เข้าในง่าย มีกฎเกณฑในการเขียนที่ละเอียด แต่การทางาน ค่อนข้างช้าและไมเหมาะกับการคานวณที่ซับซ้อน งานที่เหมาะกับการใช้ภาษาโคบอล คือ งานทางสถิติ การ บัญชี การทำโปรแกรมเงินเดือน เป็นต้น
ย่อมาจาก Beginner’s All–purpose Symbolic Instruction Code พัฒนาขึ้นในปี 1965 ที่วิทยาลัย Dartmouth โดย John Kenery และ Thomas Kurtz เป็นภาษาแรกที่ทำงานได้บนเครื่องพีซี ภาษานี้มีความคล้ายคลึงกับภาษา FORTRAN ง่ายต่อการเรียนรู้ คำสั่งต่างๆมีน้อย ทำให้เขียนโปรแกรมได้รวดเร็วแก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่าย สามารถใช้งานได้อยางมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากเป็นภาษาที่ไม่มีโครงสร้างจึงไม่เหมาะกับงานขนาดใหญ่ จุดเด่นของภาษานี้คือ Operating System ของภาษานใช้เนื้อที่น้อย ภาษาเบสิกนี้ใช้ได้กับงาน คำนวณ งานทางด้านธุรกิจ หรือการออกรายงาน
ชื่อของภาษานี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสต์รชาวฝรั่งเศส คือ Blaise Pascal ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการใช้ อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ ภาษาปาสคาลคิดค้นโดย Niklaus Wirth แห่ง Swiss Federal Institute of Technology ในปีค.ศ. 1986 เพือใช้ในการเรียนการสอน เป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดีมาก เหมาะสำหรับการเรียน เขียนโปรแกรมให้เป็นไปอยางมีระบบระเบียบ ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้ กับงานทั่ว ๆ ไป ทั้งทางด้านธุรกิจและงานด้านกราฟิก ภาษา Pascal เป็นภาษาทค่อนข้างจุกจิก มีข้อยกเว้นและ เครื่องหมายมาก ทำให้ลดความคล่องตัวในการใช้งาน
เป็นภาษาในรุ่นที่ 5 เหตุที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ เพราะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ภาษา มนุษย์ได้เลย คำสั่งที่มนุษย์พิมพ์เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาพูด ซึ่งอาจมีรูปแบบไม่แน่นอนตายตัว แต่คอมพิวเตอร์ก็จะสามารถทำการแปลคำสั่งเหล่านั้น ให้ออกมาในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ถ้าคำถาม ใดไม่กระจ่าง ก็จะถามกลับ เพื่อให้ได้รายละเอียดยิ่งขึ้น ภาษาธรรมชาตินี้ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยทางด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นงานที่ อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์ ในการทาให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมนุษย์ ซึ่งในการนี้ต้อง นำข้อมูลข่าวสารมาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาประกอบกันเพื่อใช้ในการตัดสินใจในสาขานั้นๆ ร่วมถึงการ แสดงผลลัพธ์ถึงค่าความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น นั้นคือต้องอาศัยระบบฐานข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูล จำนวนมหาศาล เรียกฐานข้อมูลของระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ว่า ฐานความรู้ (Knowledge Base)